โครงงานเพาะเห็ดด้วยระบบอัจฉริยะ

โครงงานเพาะเห็ดด้วยระบบอัจฉริยะ

โครงงาน เพาะเห็ดด้วยระบบอัจฉริยะ
ผู้พัฒนา บริษัท เมกก้า พาวเวอร์ จำกัด โดยคุณบรรเจิด จิระวรสุขิ และทีมงาน

ทีมที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติพงษ์ เยาวาจา
หัวหน้ากลุ่มวิจัยวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติขั้นสูง
และผู้รับผิดชอบหลักสูตรหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (นานาชาติ)​
คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา

  1. ความเป็นมา
    จากเดิมที่บริษัทมีความสนใจทางด้านระบบ ไร้สาย โดยทำการเชื่อมต่อสัญญาณจากเซ็นเซอร์ต่างๆซึ่งได้เคยทำระบบ iot เพื่อวัดไฟฟ้าและน้ำประปาที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ ก็ได้พบว่ามีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนา ระบบการกล่าวให้มีความชาญฉลาดมากขึ้น

โดยมีการตรวจสอบระบบน้ำถ้ามันมีการใช้น้ำมากจนเกินไปซึ่งอาจจะเกิดจากการรั่วของน้ำก็จะมีการแจ้งเตือนทางระบบออนไลน์ผ่านมือถือ รวมถึงมีการใช้เซ็นเซอร์สำหรับ วัดกระแสไฟฟ้าที่ มาจากการใช้ปั๊มน้ำ ซึ่งปั๊มน้ำและก็จะมีการปั๊มน้ำจากชั้นล่างขึ้นไปไว้ที่ชั้นบน และมีการติดตั้งเซ็นเซอร์ต่างๆ ใน Controller ต่างๆ ตัวทำงาน ด้วยการระบบ วัดน้ำวัดไฟโดยทำงานกับทีมงานเพื่อเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายผ่านระบบ nb-iot แล้วก็เชื่อมไปยังระบบ iot platform ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตเชื่อมโยงไปสู่ระบบ มือถือและ เก็บข้อมูลในลักษณะกราฟแล้วก็สามารถเชื่อมมายังระบบ Excel เพื่อที่จะนำมาวิเคราะห์การใช้งานในแต่ละเดือนแต่ละวัน

โดยในโครงงานที่พัฒนานี้ ก็จะพัฒนาระบบเครือข่ายไร้สายโดยการประมวลผลภาพแล้วก็การควบคุมการทำงานเพื่อให้สามารถเพาะเห็ดได้ด้วยระบบอัจฉริยะ

  1. เป้าหมาย
    ออกแบบระบบโรงเรือนอัจฉริยะสำหรับดูและเห็ดให้เหมาะสม
    หาปัจจัยที่เหมาะสมของพลังงานไฟฟ้าและปริมาณน้ำในโรงเพาะเห็ดตามฤดูกาล
    หาปัจจัยที่เหมาะสมของพลังงานไฟฟ้าและปริมาณน้ำในโรงเพาะเห็ดตามฤดูกาล ระบบ EMBEDED IOT พร้อมระบบ INTELLIGENT CONTROL และ DATA ไปวิเคราะห์ เพื่อ OPTIMIZE ให้เหมาะกับฤดูกาลและสภาพแวดล้อม
  2. ความรู้จากการอบรมที่ใช้ในการพัฒนางาน
    ศึกษาเซ็นเซอร์ในการไหล Hall Effect Sensor การปรับตั้งค่าของเซนเซอร์จากการวัดค่าต่างๆ

โปรแกรมเขียนไมโครคอนโทรลเลอร์ BOARD EMBEDED MICROCHIP

โปรแกรม Think Control (Iot) และการเชื่อมต่อผ่าน LoRA

ตัววัดไฟฟ้า HIKING

ศึกษาโปรแกรมพื้นฐาน เซนเซอร์และอุปกรณ์ ระบบให้ความชื้นปั้มน้ำและหัวสเปรย์ พัดลมระบายความร้อน

ศึกษาโปรแกรมพื้นฐาน เซนเซอร์และอุปกรณ์ Sensor TEMP & humidity

ศึกษาโปรแกรมพื้นฐาน เซนเซอร์และอุปกรณ์ Sensor TEMPERATURE

ศึกษาโปรแกรมพื้นฐาน เซนเซอร์และอุปกรณ์ SOIL MOISURE SENSOR

  1. ผลสำเร็จของงานประโยชน์ที่ได้รับ
    สามารถปรับระดับความชื้นและการหมุนเวียนของอากาศ ผ่านหัววัดอุณหภูมิและ Humidity sensor ที่ติดตั้งตามจุดต่างๆ จำนวนอย่างละสามตัวในโรงเพาะ และอย่างละหนึ่งตัวภายนอก เพื่อปรับความเร็วรอบของพัดลมให้เหมาะสม และปรับเพิ่ม/ลดละอองน้ำที่จ่ายให้เห็ดให้เหมาะสมกับฤดูกาล

ส่งข้อมูลผ่านรูปแบบ mqtt ไปยัง Node red และประมวลผล และส่งข้อมูลขึ้นคลาวด์ Think Control และสามารถเรียวกข้อมูลกลับมาวิเคราะห์ และนำข้อมูลมาปรับการทำงานของระบบควบคุม

สรุปการออกแบบระบบและอุปกรณ์ที่พัฒนาต่อยอด เพื่อหาปัจจัยที่เหมาะสมของพลังงานไฟฟ้าและปริมาณน้ำในโรงเพาะเห็ดตามฤดูกาล ระบบ EMBEDED IOT พร้อมระบบ INTELLIGENT CONTROL และ DATA ไปวิเคราะห์ เพื่อ OPTIMIZE ให้เหมาะกับฤดูกาลและสภาพแวดล้อม

  1. ผลลัพท์ที่คาดว่าจะได้รับ
  • วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อควบคุมการเพาะเห็ดให้เหมาะกับฤดูกาลและสภาพแวดล้อม
  • ได้ข้อมูลตรงเวลาสม่ำเสมอ สามารถปรับปรุงและลดความผิดพลาดในการทำงาน การประหยัดค่าใช้จ่ายพนักงาน การลดความผิดพลาดในการทำงาน และการต่อยอดโครงการใหม่จากความรู้ ประมาณการผลกำไรได้ 1,000,000 บาทต่อปี และสามารถต่อยอดเพิ่มได้อีกในอนาคตและขยายผลได้ในขนาดอุตสาหกรรมที่ใหญ่ขึ้น

ทีมที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติพงษ์ เยาวาจา
หัวหน้ากลุ่มวิจัยวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติขั้นสูง
และผู้รับผิดชอบหลักสูตรหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (นานาชาติ)​
คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา

Create Account



Log In Your Account