Thailand Excellence Community
6 มกราคม 2565 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติพงษ์ เยาวาจา หัวหน้ากลุ่มวิจัยวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติขั้นสูง ตัวแทนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา นำเสนอผลการทดสอบการประยุกต์ใช้คลื่น 5G กับภาคอุตสาหกรรมในกรณีศึกษาเบื้องต้น ในการประชุมกลุ่มสัมมนา (Focus Group) กับ พันเอก ดร. พีรวัส พรหมกลัดพะเนาว์ และทีมคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฎิบัติงานของ กสทช (ด้านกิจการโทรคมนาคม) โดยได้ศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ ผู้ที่มีความต้องการใช้ในภาคอุตสาหกรรม หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนต่างๆ เล็งถึงการพัฒนานวัตกรรมใหม่ เพื่อให้ตอบโจทย์อุตสาหกรรมที่ปรับตัวใหม่ตามยุทธศาสตร์ประเทศ สอดคล้องกับการปรับตัวของโลก โดยเฉพาะที่เร่งตัวอย่างรวดเร็ว การแข่งขันทางการค้า เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี เพื่อสร้างงาน สร้างคน สร้างผลลัพธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก #EEC การศึกษาเชิงลึก ถึงแก่นแท้ เท่านั้นถึงนำไปสู่นวัตกรรมใหม่ ทางมหาวิทยาลัยได้เตรียมความพร้อม สถานที่ คน และทรัพยากรต่างๆ สำหรับเทคโนโลยีใหม่ การมีการเชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง เข้าใจถึงปัญหาที่แท้จริง ถึงมองเห็นแนวทางที่ชัดเจนของโลกใหม่ห้องทดสอบ 5G
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติพงษ์ เยาวาจา เป็นวิทยากรและให้คำปรึกษาในการประชุมกลุ่มสัมมนา (Focus Group)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติพงษ์ เยาวาจา นำเสนอผลการทดสอบการประยุกต์ใช้คลื่น ๕G กับภาคอุตสาหกรรมในกรณีศึกษาเบื้องต้น ณ. โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ แอนด์ สวีทส์ ศรีราชา
ถ่ายรูปร่วมกับทีมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ที่ปรึกษา) ดำเนินการติดตามและประเมินผลตามนโยบาย กสทช. ที่สำคัญในด้านกิจการโทรคมนาคม
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติพงษ์ เยาวาจา วิทยากรต้อนรับพันเอก ดร. พีรวัส พรหมกลัดพะเนาว์ และคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฎิบัติงาน ด้านกิจการโทรคมนาคม ในการเข้าเยี่ยมชมพื้นที่กำกับดูแลเป็นการเฉพาะ (Regulatory Sandbox) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ในวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๔ และ ๖ มกราคม ๒๕๖๕
รายละเอียด พื้นที่กำกับดูแลเป็นการเฉพาะ (Regulatory Sandbox) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
ประชุม รับฟังความคิดเห็น 5G
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติพงษ์ เยาวาจา เป็นวิทยากรต้อนรับพันเอก ดร. พีรวัส พรหมกลัดพะเนาว์ และคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฎิบัติงาน ด้านกิจการโทรคมนาคม ในการเข้าเยี่ยมชมพื้นที่กำกับดูแลเป็นการเฉพาะ (Regulatory Sandbox) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ในวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๔
หนังสือขอบคุณ
11 มกราคม
มีนัดกัน 11 มกราคม/ 14 มกราคม/ 18 มกราคม 2565 ประชุมประเด็นคำถามสำหรับการสัมภาษณ์ ข้อประเด็นคำถามที่เกี่ยวข้องกับ 5G
https://www.facebook.com/watch/?v=7011985405540240
18 มกราคม 2565
ประชุมกลุ่ม 5G ภาครัฐร่วมกับภาคเอกชน สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พันเอก ดร. พีรวัส พรหมกลัดพะเนาว์ และทีมคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฎิบัติงานของ กสทช (ด้านกิจการโทรคมนาคม)
ผศ.ดร.กิตติพงษ์ เยาวาจา – คณะกรรมการ 5G Sandbox มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
ดร.อภิศักดิ์ จุลยา – รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัล สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)
คุณวรกาน ลิขิตเดชาศักดิ์ – Chief Technology Officer (CTO), Carrier Network Business Group บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด
คุณวิศรุต/ คุณโชติวัฒน์/ คุณราชาวดี/ คุณณัฐพงษ์/ คุณกฤษฏา – บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน)
ทีมสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
5G จะมีประโยชน์ในการพัฒนาประเทศได้ จำเป็นต้องการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมในการเอาเทคโนโลยีเข้าไปใช้ รวบรวม use cases ที่คล้ายกันเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำไปใช้ต่อได้ การนำ 5G ไปเชื่อมต่อระหว่างเครื่องจักรด้วยกันและไปเชื่อมต่อกับผู้ปฎิบัติการ โดยคลื่นที่มีการพัฒนาจาก mobile internet เป็น tactile internet
เนื่องจากประเทศไทยเดิมเป็นการนำเทคโนโลยีจากต่างประเทศเข้ามาใช้งาน แต่การใช้คลื่น 5G จำเป็นต้องนำมาประยุกต์ใช้ จำเป็นต้องเทรนคนให้เก่งที่จะเข้าใจ รวมทั้ง Start-up ที่สามารถประยุกต์ใช้ การผลักดันทำ R&D ของภาคเอกชนร่วมกับภาครัฐ เพื่อเป็นการพัฒนาคน พัฒนาเทคโนโลยี
ประชุมเดี่ยวสัมมนา (Focus Group) นโยบาย ยุทธศาสตร์ 5G ของประเทศ
https://youtu.be/-OaHoVYcpKM
ประชุมกลุ่มสัมมนา (Focus Group) นโยบาย ยุทธศาสตร์ 5G ของประเทศ
https://youtu.be/B5Xw1HAiVys
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติพงษ์ เยาวาจา / K.Yaovaja
หัวหน้ากลุ่มวิจัยวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติขั้นสูง / RAAS
และผู้รับผิดชอบหลักสูตรหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (นานาชาติ) /RASE
คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา / KU Sriracha