หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่ออุตสาหกรรม รุ่นที่ 1 ปี 2565

สมัครหลักสูตรหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่ออุตสาหกรรม ทุนเรียนฟรี
ลิ้งค์สมัครหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่ออุตสาหกรรม

โครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ 2565 คลิ๊กที่นี้

ช่วงเวลาเปิดเรียน รุ่นที่ 1 กันยายน – มีนาคม 2565 / รุ่นที่ 2 เมษายน – กันยายน 2566 (กำหนดการเบื้องต้น)

! ทุนเรียน หลักสูตรพันธ์ใหม่ ! อุปกรณ์เรียนครบ ทันสมัยระดับโลก สอนด้วยอาจารย์และวิทยากรจากภาคอุตสาหกรรม โจทย์จริง ทันสมัย พร้อมแข่งขันในเวทีโลก จำนวนจำกัด ! สำหรับคนทำงานและพร้อมทำงาน

ยินดีกับเพื่อนๆ ด้วย เรียนจบ 4 เดือน รับใบประกาศนียบัตรกันครับ

ชื่อชุดวิชาวิชาภาษาไทย หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่ออุตสาหกรรม

ชื่อชุดวิชาวิชาภาษาอังกฤษ Robotics and Automation for Industry

วัตถุประสงค์ของชุดวิชา

หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติสำหรับอุตสาหกรรมมีบทบาทอย่างมากในภาคการผลิตของอุตสาหกรรมของประเทศไทย บุคลากรของภาคอุตสาหกรรมต้องมีความรู้และความเข้าใจหุ่นยนต์อุตสาหกรรม การใช้และควบคุมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ รวมทั้งเซนเซอร์ต่างๆ ไปถึงการพัฒนาระบบจักรกลวิทัศน์และการประยุกต์ใช้งานกับระบบอัตโนมัติ เป็นปัจจัยที่สำคัญในการใช้เทคโนโลยีได้อย่างเต็มรูปแบบและมีประสิทธิภาพ
การใช้งานหุ่นยนต์อุตสาหกรรมจำเป็นต้องมีพื้นฐานเกี่ยวกับส่วนประกอบทางฮาร์ดแวร์และทักษะการโปรแกรมหุ่นยนต์ด้วยแป้นการสอนตำแหน่ง รวมทั้งความสามารถในการจำลองการทำงานของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมด้วยโปรแกรมประยุกต์ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานความเข้าใจในการศึกษาทางจลนศาสตร์และพลศาสตร์ของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมต่อไป
การออกแบบตัวควบคุมนั้นมีหลากหลายวิธีไม่ว่าจะเป็นการออกแบบระบบควบคุมแบบดั้งเดิม การความรู้ทางทฤษฎีด้านระบบอัตโนมัติในโดเมนความถี่และโดเมนเวลา การออกแบบระบบควบคุมในปัจจุบันนั้นมีเครื่องมือมากมายและใช้เวลารวดเร็วมากขึ้น เหมาะสำหรับการนำไปประยุกต์ใช้จริง เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในด้านการตลาดในตลาดโลกได้
การพัฒนาระบบจักรกลวิทัศน์และการประยุกต์ใช้งานกับระบบอัตโนมัติ เป็นวิชาขั้นสูงของวิทยาการหุ่นยนต์ ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีและเครื่องมือที่จำเป็น โดยเน้นส่วนของการประมวลผลภาพดิจิทัล การตรวจหาลักษณะเฉพาะ การรับภาพด้วยกล้อง การรู้จำและติดตามวัตถุ

ผลลัพธ์การเรียนรู้ของชุดวิชา (Learning Outcome) หรือ Significance

ให้ผู้เรียนทราบภาพรวมของหุ่นยนต์อุตสาหกรรม กลไกของแขนกลในอุตสาหกรรม อุปกรณ์ขับและอุปกรณ์ตรวจรู้ ระบบและองค์ประกอบการควบคุม การสื่อสารในระบบหุ่นยนต์อุตสาหกรรม
ผู้เรียนมีความชำนาญในการปฏิบัติการและการโปรแกรมหุ่นยนต์อุตสาหกรรมด้วยแป้นการสอนตำแหน่ง การสร้างแบบจำลองงานและการจำลองสถานการณ์ การออกแบบและการจำลองระบบหุ่นยนต์อุตสาหกรรมสำหรับการประยุกต์ในกระบวนการผลิต
ให้ผู้เรียนเข้าใจแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของระบบหุ่นยนต์ ระบบควบคุมแบบวงปิดและวงเปิด ฟังก์ชันถ่ายโอน การวิเคราะห์และออกแบบระบบควบคุมในโดเมนเวลาและโดเมนความถี่ การพล็อตโบด เสถียรภาพของระบบ
ผู้เรียนมีความชำนาญในการปฏิบัติการและการโปรแกรมตัวควบคุมแบบพีไอดีและแบบพีไอดีปรับปรุง การวางโพล ตัวควบคุมแบบกำลังสองน้อยที่สุด ตัวสังเกตค่าสถานะ การประยุกต์ใช้ตัวควบคุมแบบต่างๆ กับระบบหุ่นยนต์
ให้ผู้เรียนทราบหลักมูลภาพดิจิทัล การแปลงค่าความเข้มและการกรองเชิงพื้นที่ การประมวลผลภาพสี การตรวจจับขอบและมุมในภาพ การตรวจหาลักษณะเฉพาะ การแบ่งส่วนภาพ
ผู้เรียนมีความชำนาญการใช้งานไลบรารีคอมพิวเตอร์วิทัศน์ การเกิดภาพและแบบจำลองกล้อง การรับภาพด้วยกล้องตัวเดียว การสอบเทียบกล้อง การถ่ายภาพสเตอริโอ การรู้จำและติดตามวัตถุ หุ่นยนต์วิทัศน์

ฟรีค่าลงทะเบียนหน่วยกิต ลงทะเบียนหลักสูตรปริญญาบัตร non-degree กับ ม.เกษตรศาสตร์ และสามารถเทียบรายวิชาในปริญญาบัตรอื่นได้ (Credit Bank) ของ ม.เกษตรศาสตร์

รายชื่อนิสิตรุ่นที่ 1 (กันยายน – มีนาคม 2565)

#EEC คนในย่านตะวันออกมีจำนวนไม่น้อยทำงานในภาคอุตสากรรม ในขณะที่ต่างประเทศพัฒนาได้รวดเร็ว มีการย้ายโรงงานไปต่างประเทศ หรือแรงงานที่มีคุณภาพมาทดแทนแรงงานไทย การพัฒนาความรู้ต้องเริ่มทันที ทำต่อเนื่อง การเข้าถึงแหล่งความรู้เป็นสิ่งสำคัญ #อบรมฟรี เตรียมพร้อม หลักสูตรหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่ออุตสาหกรรม ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา สำหรับคนที่จะทำงานในภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาที่กำลังจบการศึกษา เรียนรู้เนื้อหาที่ทันสมัยที่สุด ปฏิบัติงานจริงกับหน่วยงานและภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ สอดคล้องกับ – การประยุกต์ใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมและการผลิตที่ทันสมัย – ระบบควบคุมสำหรับหุ่นยนต์สมัยใหม่ – ระบบกล้องและการประมวลผลภาพสำหรับอุตสาหกรรม #หุ่นยนต์ #ออโตเมชั่น #ทุนเรียนฟรี #EEC #ชลบุรี #ระยอง #ฉะเชิงเทรา #กทม #อบรม #ทุน #reskill #upskill

Module1 – Industrial Robot Design and Simulation

Industrial Robot and Automation Design and Simulation

Module2 – Automation Machine Vision &AI

Python programming-Machine Vision and Image Processing

Module3 – Industrial Control & IIoT

Module4 – Smart Embedded System and Visual Servo

วัน เสาร์-อาทิตย์ นี้ บัณฑิตพันธุ์ใหม่ มาลุยกันต่อ Module 4 – Smart Embedded System and Visual Servo หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่ออุตสาหกรรม ม.เกษตรศาสตร์ ศรีราชา LabVIEW Programming for embedded system. Real-time system, FPGA, I/O sensor and calibration. Closed-loop control and PID control.

– Robot and Automation Engineering Project

รายวิชา หุ่นยนต์อุตสาหกรรมและการประยุกต์ในกระบวนการผลิต

ชื่อวิชาภาษาไทย หุ่นยนต์อุตสาหกรรมและการประยุกต์ในกระบวนการผลิต
ชื่อวิชาภาษาอังกฤษ Industrial Robot and Applications in Manufacturing Processes
รหัสวิชา 03607351 3(2-3-6)

Industrial Robot Application and Manufacturing Process เป็นวิชาที่เรียนการเขียนโปรแกรม Robot Studio ในการจำลองการทำงานของหุ่นยนต์ (ABB Robot) และวางแผนการสร้างระบบออโตเมชั่น ศึกษาการทำงานของหุ่นยนต์ เช่น Delta Robot, Cobot, AMR และ line Automation การใช้ PLC HMI และ IoT พื้นฐาน

วัตถุประสงค์ในการเปิดรายวิชา

การใช้งานหุ่นยนต์อุตสาหกรรมจำเป็นต้องมีพื้นฐานเกี่ยวกับส่วนประกอบทางฮาร์ดแวร์และทักษะการโปรแกรมหุ่นยนต์ด้วยแป้นการสอนตำแหน่ง รวมทั้งความสามารถในการจำลองการทำงานของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมด้วยโปรแกรมประยุกต์ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานความเข้าใจในการศึกษาทางจลนศาสตร์และพลศาสตร์ของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมต่อไป

คำอธิบายรายวิชา (Course Description)

ภาพรวมของหุ่นยนต์อุตสาหกรรม กลไกของแขนกลในอุตสาหกรรม อุปกรณ์ขับและอุปกรณ์ตรวจรู้ ระบบและองค์ประกอบการควบคุม การสื่อสารในระบบหุ่นยนต์อุตสาหกรรม การปฏิบัติการและการโปรแกรมหุ่นยนต์อุตสาหกรรมด้วยแป้นการสอนตำแหน่ง การสร้างแบบจำลองงานและการจำลองสถานการณ์ การออกแบบและการจำลองระบบหุ่นยนต์อุตสาหกรรมสำหรับการประยุกต์ในกระบวนการผลิต

Overview of industrial robots. Mechanism of manipulators in industries. Actuators and sensors. Control system and components. Communication in industrial robot systems. Industrial robot operations and programming with teach pendant. Task modeling and simulation. Design and simulation of industrial robot systems for applications in manufacturing processes.

รายวิชา กลจักรวิทัศน์และการประยุกต์ใช้ในระบบอัตโนมัติ

ชื่อวิชาภาษาไทย กลจักรวิทัศน์และการประยุกต์ใช้ในระบบอัตโนมัติ
ชื่อวิชาภาษาอังกฤษ Machine Vision and Applications in Automation System
รหัสวิชา 03607331 3(3-0-6)

เป็นวิชาที่เรียนการเขียนโปรแกรม Python การประมวลผลภาพด้วยเทคนิคต่างๆ การเริ่มประยุกต์ใช้ AI สำหรับประมวลผลภาพ ตัวอย่างการใช้ระบบ Machine Vision ในการเชื่อมต่อกับ Delta Robot ของ Omron

วัตถุประสงค์ในการเปิดรายวิชา

เป็นวิชาขั้นสูงของวิทยาการหุ่นยนต์ ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีและเครื่องมือที่จำเป็นในการพัฒนาระบบจักรกลวิทัศน์และการประยุกต์ใช้งานกับระบบอัตโนมัติ โดยเน้นส่วนของการประมวลผลภาพดิจิทัล การตรวจหาลักษณะเฉพาะ การรับภาพด้วยกล้อง การรู้จำและติดตามวัตถุ

คำอธิบายรายวิชา (Course Description)

หลักมูลภาพดิจิทัล การแปลงค่าความเข้มและการกรองเชิงพื้นที่ การประมวลผลภาพสี การตรวจจับขอบและมุมในภาพ การตรวจหาลักษณะเฉพาะ การแบ่งส่วนภาพ การใช้งานไลบรารีคอมพิวเตอร์วิทัศน์ การเกิดภาพและแบบจำลองกล้อง การรับภาพด้วยกล้องตัวเดียว การสอบเทียบกล้อง การถ่ายภาพสเตอริโอ การรู้จำและติดตามวัตถุ หุ่นยนต์วิทัศน์

Fundamental of digital image. Intensity transformation and spatial filtering. Color image processing. Edge and corner detection. Feature extraction. Image segmentation. Using of computer vision library. Image formation and camera model. Imaging with one camera. Camera calibration. Stereo imaging. Object recognition and tracking. Robot vision.

โครงงานหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่ออุตสาหกรรม รายวิชานี้เป็นการนำโจทย์ที่ทำงานอยู่ หรือโจทย์จากภาคอุตสาหกรรม หรือโจทย์ที่สนใจ สอดคล้องกับการพัฒนาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่ออุตสาหกรรม สร้างต้นแบบ พัฒนาโปรแกรม คิด วิเคราะห์ แก้ไขปัญหา ศึกษาจากงานจริง เพื่อสร้างผลงาน สิ่งประดิษฐ์ หรือนวัตกรรม โปรแกรม แนวคิด หรืออื่นๆ ที่ตอบโจทย์การพัฒนาทางด้านนี้

รายวิชา โครงงานวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ II รหัสวิชา 03607399

รายวิชา โครงงานวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ III รหัสวิชา 03607499

รายวิชาที่เกี่ยวข้อง

ชื่อวิชาภาษาไทย วิศวกรรมการควบคุมสำหรับวิทยาการหุ่นยนต์ เป็นวิชาที่เรียนการเขียนโปรแกรม LabVIEW การพัฒนาระบบสมองกลฝังตัว การใช้ระบบเรียลไทม์ การใช้ระบบ การพัฒนาตัวควบคุมแบบเชิงความถี่และเชิงเวลา ควบคุมระบบและหุ่นยนต์อย่างมีเสถียรภาพ การควบคุมและการใช้งาน AC Motor Servo Controller และ Robot Controller

โครงการอบรมที่ผ่านมา ม.เกษตร ศรีราชา

โครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ Non degree เพื่อสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรม EEC (Robotics Innovation) ปี 2019

โครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ Non degree Artificial Intelligent Robot ม.เกษตรศาสตร์ ศรีราชา ปี 2020

SI Warrior, Advanced Data Science for Intelligent Business ปี 2021

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติพงษ์ เยาวาจา หัวหน้ากลุ่มวิจัยวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติขั้นสูง และผู้รับผิดชอบหลักสูตรหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (นานาชาติ)​ ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา

Create Account



Log In Your Account