หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่ออุตสาหกรรม รุ่นที่ 2 ปี 2566

หลักสูตรประกาศนียบัตร Non-Degree ชุดวิชาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่ออุตสาหกรรม

Module1 – Industrial Robot and Automation Design and Simulation

Module2 – Python programming-Machine Vision and Image Processing Automation Machine Vision &AI

Module3 – Industrial Control & IIoT

Module4 – Smart Embedded System and Visual Servo

Final Module – Robot and Automation Engineering Project

🏫 ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา 🏫

🌐สมัครได้ที่ลิงก์ https://cb.ku.ac.th/apply/

✅เน้นการปฏิบัติจริง ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี

✅Re-skill, Up-skill และ New skill

✅ระยะเวลาเรียนประมาณ 3-4 เดือน

✅เรียนนอกเวลาราชการ และวันเสาร์-อาทิตย์

👨‍👩ไม่จำกัดอายุ เหมาะสำหรับวิศวกรโรงงาน หรือผู้พัฒนาระบบต่างๆ

ข้อมูลเพิ่มเติม
https://gulfthai.com/?page_id=8510

เข้าพบเจ้าของโรงงานหุ่นยนต์และทีมวิศวกร เป็นสถานที่สำหรับพัฒนาระบบหุ่นยนต์ที่หลากหลายและทันสมัยสุดแห่งหนึ่ง และสำหรับความร่วมมือในการพัฒนาบุคลากรวิศวกรในโรงงานให้มาร่วมอบรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่ออุตสาหกรรม และพัฒนาความร่วมมือในการพัฒนาและวิจัยความรู้ในงานภาคอุตสาหกรรมที่ตอบโจทย์อุตสาหกรรมใหม่ ขอความรู้จากอุตสาหกรรมใหม่ๆ แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม #โรบอท

กำหนดการ

26 สิงหาคม 66 9.00-17.00 Industrial Robot Part I
27 สิงหาคม 66 9.00-17.00 Robot Vision System Part I

2 กันยายน 66 9.00-17.00 Industrial Robot Part II
3 กันยายน 66 9.00-17.00 Robot Vision System Part II

9 กันยายน 66 9.00-17.00 Industrial Robot Part III
10 กันยายน 66 9.00-17.00 Robot Vision System Part III

16 กันยายน 66 9.00-17.00 Industrial Robot Part IV
17 กันยายน 66 9.00-17.00 Robot Vision System Part IV

23 กันยายน 66 9.00-17.00 Industrial Robot Part V
24 กันยายน 66 9.00-17.00 Robot Vision System Part V

30 กันยายน 66 9.00-17.00 Industrial Robot Part VI
1 ตุลาคม 66 9.00-17.00 Robot Vision System Part VI

7 ตุลาคม 66 9.00-17.00 Industrial Robot Part VII
8 ตุลาคม 66 9.00-17.00 Robot Vision System Part VII

14 ตุลาคม 66 9.00-17.00 –Project–
15 ตุลาคม 66 9.00-17.00 –Project–

21 ตุลาคม 66 9.00-17.00 –Project–
22 ตุลาคม 66 9.00-17.00 –Project–

28 ตุลาคม 66 9.00-17.00 Automation Part I – PLC-HMI and industrial I/O
29 ตุลาคม 66 9.00-17.00 Automation Part II – PLC-HMI and industrial I/O

4 พฤศจิกายน 66 9.00-17.00 Automation Part III – PLC-HMI and industrial I/O
5 พฤศจิกายน 66 9.00-17.00 Automation Part IV – PLC-HMI and industrial I/O

11 พฤศจิกายน 66 9.00-17.00 Automation Part V – IIoT and Dashboard
12 พฤศจิกายน 66 9.00-17.00 Automation Part VI – IIoT and Dashboard

18 พฤศจิกายน 66 9.00-17.00 Automation Part VII – IIoT and Dashboard
19 พฤศจิกายน 66 9.00-17.00 Automation Part VIII – IIoT and Dashboard

25 พฤศจิกายน 66 9.00-17.00 Control System Part I
26 พฤศจิกายน 66 9.00-17.00 Control System Part II

2 ธันวาคม 66 9.00-17.00 Control System Part III
3 ธันวาคม 66 9.00-17.00 Control System Part IV

9 ธันวาคม 66 9.00-17.00 –Project–
10 ธันวาคม 66 9.00-17.00 –Project–

16 ธันวาคม 66 9.00-17.00 Control System Part V
17 ธันวาคม 66 9.00-17.00 Control System Part VI

23 ธันวาคม 66 9.00-17.00 Control System Part VII
24 ธันวาคม 66 9.00-17.00 Control System Part VIII

30 ธันวาคม 66 9.00-17.00 –Project–
31 ธันวาคม 66 9.00-17.00 –Project–

6 มกราคม 66 9.00-17.00 –Project–(Present)
7 มกราคม 66 9.00-17.00 –Project–

13 มกราคม 66 9.00-17.00 –Project–(Present)
14 มกราคม 66 9.00-17.00 –Project–

20 มกราคม 66 9.00-17.00 –Project–(Present)
21 มกราคม 66 9.00-17.00 –Project–

27 มกราคม 66 9.00-17.00 –Project–(Present)
28 มกราคม 66 9.00-17.00 –Project–

3 กุมภาพันธ์ 66 9.00-17.00 –Project–(Present)
4 กุมภาพันธ์ 66 9.00-17.00 –Project–

10 กุมภาพันธ์ 66 9.00-17.00 –Project–
11 กุมภาพันธ์ 66 9.00-17.00 –Project–

17 กุมภาพันธ์ 66 9.00-17.00 –Project–(Present)
18 กุมภาพันธ์ 66 9.00-17.00 –Project–

24 กุมภาพันธ์ 66 9.00-17.00 –Project–
25 กุมภาพันธ์ 66 9.00-17.00 –Project–

2 มีนาคม 66 9.00-17.00 –Project–
3 มีนาคม 66 9.00-17.00 –Project–

9 มีนาคม 66 9.00-17.00 –Project–
10 มีนาคม 66 9.00-17.00 –Project–

16 มีนาคม 66 9.00-17.00 –Project–
17 มีนาคม 66 9.00-17.00 –Project–

23 มีนาคม 66 9.00-17.00 –Project–
24 มีนาคม 66 9.00-17.00 –Project–

30 มีนาคม 66 9.00-17.00 –Project–
31 มีนาคม 66 9.00-17.00 –Project–

ชื่อชุดวิชาวิชาภาษาไทย หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่ออุตสาหกรรม

ชื่อชุดวิชาวิชาภาษาอังกฤษ Robotics and Automation for Industry

วัตถุประสงค์ของชุดวิชา

หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติสำหรับอุตสาหกรรมมีบทบาทอย่างมากในภาคการผลิตของอุตสาหกรรมของประเทศไทย บุคลากรของภาคอุตสาหกรรมต้องมีความรู้และความเข้าใจหุ่นยนต์อุตสาหกรรม การใช้และควบคุมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ รวมทั้งเซนเซอร์ต่างๆ ไปถึงการพัฒนาระบบจักรกลวิทัศน์และการประยุกต์ใช้งานกับระบบอัตโนมัติ เป็นปัจจัยที่สำคัญในการใช้เทคโนโลยีได้อย่างเต็มรูปแบบและมีประสิทธิภาพ
การใช้งานหุ่นยนต์อุตสาหกรรมจำเป็นต้องมีพื้นฐานเกี่ยวกับส่วนประกอบทางฮาร์ดแวร์และทักษะการโปรแกรมหุ่นยนต์ด้วยแป้นการสอนตำแหน่ง รวมทั้งความสามารถในการจำลองการทำงานของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมด้วยโปรแกรมประยุกต์ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานความเข้าใจในการศึกษาทางจลนศาสตร์และพลศาสตร์ของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมต่อไป
การออกแบบตัวควบคุมนั้นมีหลากหลายวิธีไม่ว่าจะเป็นการออกแบบระบบควบคุมแบบดั้งเดิม การความรู้ทางทฤษฎีด้านระบบอัตโนมัติในโดเมนความถี่และโดเมนเวลา การออกแบบระบบควบคุมในปัจจุบันนั้นมีเครื่องมือมากมายและใช้เวลารวดเร็วมากขึ้น เหมาะสำหรับการนำไปประยุกต์ใช้จริง เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในด้านการตลาดในตลาดโลกได้
การพัฒนาระบบจักรกลวิทัศน์และการประยุกต์ใช้งานกับระบบอัตโนมัติ เป็นวิชาขั้นสูงของวิทยาการหุ่นยนต์ ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีและเครื่องมือที่จำเป็น โดยเน้นส่วนของการประมวลผลภาพดิจิทัล การตรวจหาลักษณะเฉพาะ การรับภาพด้วยกล้อง การรู้จำและติดตามวัตถุ

ผลลัพธ์การเรียนรู้ของชุดวิชา (Learning Outcome) หรือ Significance

ให้ผู้เรียนทราบภาพรวมของหุ่นยนต์อุตสาหกรรม กลไกของแขนกลในอุตสาหกรรม อุปกรณ์ขับและอุปกรณ์ตรวจรู้ ระบบและองค์ประกอบการควบคุม การสื่อสารในระบบหุ่นยนต์อุตสาหกรรม
ผู้เรียนมีความชำนาญในการปฏิบัติการและการโปรแกรมหุ่นยนต์อุตสาหกรรมด้วยแป้นการสอนตำแหน่ง การสร้างแบบจำลองงานและการจำลองสถานการณ์ การออกแบบและการจำลองระบบหุ่นยนต์อุตสาหกรรมสำหรับการประยุกต์ในกระบวนการผลิต
ให้ผู้เรียนเข้าใจแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของระบบหุ่นยนต์ ระบบควบคุมแบบวงปิดและวงเปิด ฟังก์ชันถ่ายโอน การวิเคราะห์และออกแบบระบบควบคุมในโดเมนเวลาและโดเมนความถี่ การพล็อตโบด เสถียรภาพของระบบ
ผู้เรียนมีความชำนาญในการปฏิบัติการและการโปรแกรมตัวควบคุมแบบพีไอดีและแบบพีไอดีปรับปรุง การวางโพล ตัวควบคุมแบบกำลังสองน้อยที่สุด ตัวสังเกตค่าสถานะ การประยุกต์ใช้ตัวควบคุมแบบต่างๆ กับระบบหุ่นยนต์
ให้ผู้เรียนทราบหลักมูลภาพดิจิทัล การแปลงค่าความเข้มและการกรองเชิงพื้นที่ การประมวลผลภาพสี การตรวจจับขอบและมุมในภาพ การตรวจหาลักษณะเฉพาะ การแบ่งส่วนภาพ
ผู้เรียนมีความชำนาญการใช้งานไลบรารีคอมพิวเตอร์วิทัศน์ การเกิดภาพและแบบจำลองกล้อง การรับภาพด้วยกล้องตัวเดียว การสอบเทียบกล้อง การถ่ายภาพสเตอริโอ การรู้จำและติดตามวัตถุ หุ่นยนต์วิทัศน์

ตัวอย่างหลักสูตร ปี 2565

Module1 – Industrial Robot Design and Simulation

Industrial Robot and Automation Design and Simulation

เริ่มเรียนแล้ว เสาร์ อาทิตย์ สำหรับภาคอุตสาหกรรม ทั้งคนทำงาน วิศวกร และเจ้าของกิจการต่างๆ

สำหรับการใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติอย่างมีประสิทธิภาพ

ม. เกษตรศาสตร์ ประกาศนียบัตร (Non-Degree)

หลักสูตรประกาศนียบัตร Non-Degree ชุดวิชาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่ออุตสาหกรรม

Module1 – Industrial Robot and Automation Design and Simulation

Module2 – Python programming-Machine Vision and Image Processing Automation Machine Vision &AI

Module3 – Industrial Control & IIoT, PLC, HMI

Module4 – Smart Embedded System and Control

Module 5 – Robot and Automation Engineering Project

สำหรับคนทำงานและผู้ที่สนใจ

welcome to Robot System and Automation System training and project-based learning.

#หุ่นยนต์#KU#ศรีราชา

เรียนหุ่นยนต์ รับใบประกาศนียบัตร ชุดวิชาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ม.เกษตรศาสตร์ ศรีราชาทำงานจริง โจทย์อุตสาหกรรม พร้อมเป็นคนรุ่นใหม่หัวใจโรบอทและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ชีวิตดี อนาคตดี ฉลาดตรงจุด ประเทศไทยพัฒนาก้าวกระโดด ช่วยสังคม ช่วยประเทศ ช่วยกันช่วยคนไทยแบบยั่งยืน ยืนได้ด้วยตัวเองยืนได้ด้วยควาทรู้ควาทเข้าใจ พัฒนาตนเอง life-long learning, projected-based learning. outcome-based. สร้างชุมชนเข้มแข็ง ทรัพยากรบุคคล ทันสมัย ก้าวหน้าก้าวไกล เพื่อคนไทย เพิ่มทักษะการเรียนรู้ในโลกยุคใหม่ แก้ปัญหาการเรียนรู้ทดถอยจากช่วงโควิด อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ driven technology. มารับพลัง แบ่งบันพลัง และเพิ่มพลังกันและกัน เอาความรู้จากอุตสาหกรรมมาเข้ามหาวิทยาลัย เอาความรู้มหาวิทยาลัยไปอุตสาหกรรม สร้างองค์ความรู้ใหม่ สร้างนวัตกรรมใหม่ นวัตกรรมการเรียนรู้และแบ่งบัน #Robot

การใช้โปรแกรมจำลองการทำงานของหุ่นยนต์ เป็นสิ่งที่จำเป็นในปัจจุบันเนื่องจากสามารถที่จะกำหนดพิกัดของอุปกรณ์ต่างๆของหุ่นยนต์ตำแหน่งของหุ่นยนต์หรือเครื่องจักรในอุตสาหกรรม และสามารถสร้างเส้นทางการเคลื่อนที่ต่างๆของหุ่นยนต์ให้สัมพันธ์กับการทำงานจริง รวมถึงการ ที่เราจะสร้างโปรแกรมและฟังก์ชันต่างๆเตรียมพร้อมไว้สำหรับการนำไปใช้ที่งานจริงและสามารถเปรียบเทียบการทำงาน ซึ่งในโปรแกรมจะจำลองการทำงานแบบ Animation ที่ทำการเชื่อมต่อสิ่งของและอุปกรณ์ให้เคลื่อนไหวเสมือนงานจริงและก็รองรับการทำงานได้จริง

พร้อมเป็นคนรุ่นใหม่หัวใจโรบอทและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ชีวิตดี อนาคตดี ประเทศไทยพัฒนาก้าวกระโดด ช่วยสังคม ช่วยประเทศ ช่วยกันช่วยคนไทยแบบยั่งยืน ยืนได้ด้วยตัวเองยืนได้ด้วยควาทรู้ความเข้าใจ

พัฒนาตนเอง life-long learning, projected-based learning. outcome-based.

สร้างชุมชนเข้มแข็ง ทรัพยากรบุคคล ทันสมัย ก้าวหน้าก้าวไกล เพื่อคนไทย เพิ่มทักษะการเรียนรู้ในโลกยุคใหม่ แก้ปัญหาการเรียนรู้ทดถอยจากช่วงโควิด อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ driven technology.

มารับพลัง แบ่งบันพลัง และเพิ่มพลังกันและกัน เอาความรู้จากอุตสาหกรรมมาเข้ามหาวิทยาลัย เอาความรู้มหาวิทยาลัยไปอุตสาหกรรม สร้างองค์ความรู้ใหม่ สร้างนวัตกรรมใหม่ นวัตกรรมการเรียนรู้และแบ่งบัน #Robot

ทฤษฎีและปฎิบัติ ด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ

เสาร์ อาทินย์ รอบนี้ต่อเนื่องกันจะสองเดือนแล้วครับ

วิศวกร ช่าง หัวหน้างาน นักเรียน นิสิต ป.ตรี ป.โท อาจารย์ ผู้บริหาร เจ้าของกิจการ ครู พนักงานออฟฟิส นักพัฒนาระบบ คือผู้เรียนรอบนี้ครับ

ยินดีด้วยสำหรับนักพัฒนาหุ่นยนต์คนไทย

#Robot#KU#ศรีราชา#EEC

#อบรมหุ่นยนต์อุตสาหกรรมใหม่

การใช้โปรแกรมจำลองการทำงานของหุ่นยนต์ เป็นสิ่งที่จำเป็นในปัจจุบันเนื่องจากสามารถที่จะกำหนดพิกัดของอุปกรณ์ต่างๆของหุ่นยนต์ตำแหน่งของหุ่นยนต์หรือเครื่องจักรในอุตสาหกรรม และสามารถสร้างเส้นทางการเคลื่อนที่ต่างๆของหุ่นยนต์ให้สัมพันธ์กับการทำงานจริง รวมถึงการ ที่เราจะสร้างโปรแกรมและฟังก์ชันต่างๆเตรียมพร้อมไว้สำหรับการนำไปใช้ที่งานจริงและสามารถเปรียบเทียบการทำงาน ซึ่งในโปรแกรมจะจำลองการทำงานแบบ Animation ที่ทำการเชื่อมต่อสิ่งของและอุปกรณ์ให้เคลื่อนไหวเสมือนงานจริงและก็รองรับการทำงานได้จริง

พร้อมเป็นคนรุ่นใหม่หัวใจโรบอทและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ชีวิตดี อนาคตดี ประเทศไทยพัฒนาก้าวกระโดด ช่วยสังคม ช่วยประเทศ ช่วยกันช่วยคนไทยแบบยั่งยืน ยืนได้ด้วยตัวเองยืนได้ด้วยควาทรู้ความเข้าใจ

พัฒนาตนเอง life-long learning, projected-based learning. outcome-based.

สร้างชุมชนเข้มแข็ง ทรัพยากรบุคคล ทันสมัย ก้าวหน้าก้าวไกล เพื่อคนไทย เพิ่มทักษะการเรียนรู้ในโลกยุคใหม่ แก้ปัญหาการเรียนรู้ทดถอยจากช่วงโควิด อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ driven technology.

มารับพลัง แบ่งบันพลัง และเพิ่มพลังกันและกัน เอาความรู้จากอุตสาหกรรมมาเข้ามหาวิทยาลัย เอาความรู้มหาวิทยาลัยไปอุตสาหกรรม สร้างองค์ความรู้ใหม่ สร้างนวัตกรรมใหม่ นวัตกรรมการเรียนรู้และแบ่งบัน #Robot

Module2 – Automation Machine Vision &AI

Python programming-Machine Vision and Image Processing

Module3 – Industrial Control & IIoT

Section 3.1

ทฤษฎีและปฎิบัติ ด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ

เสาร์ อาทิตย์ รอบนี้ต่อเนื่องกัน

Module 3 – Automation and IIoT

เรียนเขียนโปรแกรม PLC การต่อสัญญาณ I/O

วงจรไฟฟ้าท่ฝี่นิยมใช้งานในระบบอัตโนมัติ

วิศวกร ช่าง หัวหน้างาน นักเรียน นิสิต ป.ตรี ป.โท อาจารย์ ผู้บริหาร เจ้าของกิจการ ครู พนักงานออฟฟิส นักพัฒนาระบบ คือผู้เรียนรอบนี้ครับ

ยินดีด้วยสำหรับนักพัฒนาหุ่นยนต์คนไทย

ลุยกับ Automation เรียนเสาร์ อาทิตย์ สำหรับ Upskills Reskills พนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม และเจ้าของกิจการ และผู้ที่สนใจ มีวิทยากรจากภาคเอกชนทร่ทำงานจริงในระบบหุ่นนต์และระบบอัตโนมัติ SI และ Developer มาร่วมสอนและแนะนำกับแบบเน้นๆ PLC HMI และสัปดาห์นี้กับ IoT มาร่วมเปลี่ยนแปลงตัวเองเป็นนักพัฒนาหุ่นยนต์อุตสาหกรรมกันครับ

Section 3.2

Robotics Non-Degree รุ่นที่ 2

Module 3B. Automation and Industrial Control

IoT, mqtt, Node-red, Dashboard, SCADA

โดยทีมวิทยากร Developer จากภาคเอกชน

11-12 พฤศจิกายน 2566

18-19 พฤศจิกายน 2566

สนใจเรียนสมัครฟรี รับวิศวกรที่ต้องการเปลี่ยนเป็น SI, Developer, Project-based, Outcome-based

Industrial-Acamedic Cooperative Program

Robotics and Automation For Next-Generation

Module4 – Smart Embedded System and Visual Servo

Module 4 Day1-4:

Measurements, Control and Embedded System

สร้างคนไทยเป็นผู้พัฒนาระบบหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ

LabVIEW Programming Basic to Practical

Measurements and Control: Outcome based, practice to real system, ปิดท้ายด้วยโปรเจ็คล้ำๆ ต้นแบบและงายวิจัยที่นำไปใช้จริง

#หุ่นยนต์

Project-based Robot Non-Degree

เรียนรู้การออกแบบทางวิศวกรรม

ประสบการณ์ตรงจากภาคอุตสาหกรรม

แลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนๆที่ใหม่บ้างเก่าบ้าง

ทำโครงงานวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัติโนมัติ

ต้นแบบ แนวคิด แบบจำลอง แบบทดสอบ

นวัตกรรมใหม่สร้างได้จากเมืองไทย

สัปดาห์นี้เรียนแลปหุ่นยนต์กันต่อครับ นอกจากเรียนรู้ทางทฤษฎี เราต้องลงมือปฎิบัติ เพื่อให้เข้าใจเอาไปทำงานำได้จริง ไม่ว่าจะเรียนจบมาระดับเราก็ต้องเรียนรู้ให้ทันยุคทันสมัยใหม่ๆ ที่นี่เราสอนความรู้แบบแน่นๆ

นอกจากทำงานเป็นแล้ว เราสร้างนวัตกรรมใหม่ วิจัยระบบหุ่นยนต์เรื่อยๆ เราสร้างต้นแบบด้วยองค์ความรู้ทางวิศวกรรม

ตอนนี้กำลังศึกษาปลายแขนหุ่นยนต์ต่างๆ นอกจากการออกแบบที่ดี การควบคุมปลายนิ้วเหล่านี้ละที่จะทำให้หุ่นยนต์ทำงานได้อย่างสมบรูณ์ ตัวนี้นิสิตศึกษาจากของประเทศต่างๆ ที่นิยมใช้ รวมทั้งออกแบบใหม่ด้วย มาต่อยอดต่อกันด้วยเซนเซอร์วัดแรงที่ปลายนิ้วด้วยครับ การติดเซ็นเซอร์ที่ปลายนิ้วก็จะทำให้ การควบคุมการหยิบจับมันมีความ ถูกต้องแม่นยำยืดหยุ่น กับวัตถุที่เราจะหยิบซึ่งจะต่อยอดไปยังหุ่นยนต์ในอนาคตได้อย่างแน่นอน ทำให้มันฉลาดและ ทำงานได้ สมบูรณ์ไปเลย

– Robot and Automation Engineering Project

เสาร์-อาทิตย์ non-degree หุ่นยนต์ on-site hybrid

สัปดาห์นี้สอนระบบกล้องเพิ่มเติม การเลือกกล้อง ระบบส่งข้อมูล throughtput bus และอื่นๆ

เปรียบเทียบกล้องในอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ แบรนด์ต่างๆ ดู smart camera และ vision controller

การใช้โปรแกรมระบบการวัดด้วยกล้องในอุตสาหกรรม การ capture ภาพ เลือกคุณลักษณะภาพ

Image Processing การปรับแต่งภาพ การ set ภาพต้นแบบที่เหมาะสมในการสร้างจุด reference การสร้าง coordinate อ้างอิงระบบการวัดด้วยรูปแบบต่างๆ การสร้างจุดการวัด

Machine Vision การส่งสัญญาณออก การ trig signal input output การใช้โปรแกรมระบบวิชั่น ร่วมกับโปรแกรมควบคุมอื่นๆ

เสาร์-อาทิตย์ non-degree หุ่นยนต์ on-site hybrid

เรียนรู้และลงมือทำ แบบ Project-based…

สัปดาห์นี้ นักเรียนกลุ่มสองท่านนำเสนอโครงงาน

นักเรียนทำงานกับบริษัทที่มีโรงงานจำนวนมาก

พัฒนาระบบ Automation ให้กับบริษัท ได้เรียนรู้เพิ่มเติมเรื่องต่างๆ เช่น การจำลองหุ่นยนต์ เพื่อใช้จำลองการทำงานของหุ่นยนต์ ร่วมกับ conveyor เพื่อกำหนดนำลอง cycle time และประมวลความรู้ต่างๆ

เรียนรู้ PLC HMI IoT และได้ออกแบบระบบ PLC HMI และเชื่อมโยง database โดยทำการจำลองด้วยระบบ simulate และดึงข้อมูลผ่าน OPC server ผ่านโปรแกรมต่างๆ ประมวลข้อมูล node red และ server grafana และ dashboard และดึงข้อมูลขึ้นเวป ทำให้สามารถแสดงผลต่างๆ โดยใช้การคำนวน cycle time, avalibility ซึ่งสามารถจำลองการเริ่มทำงาน การหยุดทำงานต่างๆ หรือการ error จากกรณีต่างๆ และส่งข้อมูลผ่าน Line notification เพื่อแจ้งเตือน operator แบบทันทีเมื่อเกิดความผิดพลาด

เสาร์-อาทิตย์ non-degree หุ่นยนต์ on-site hybrid

เรียนรู้และลงมือทำ แบบ Project-based…

นักเรียนกลุ่มนำเสนอโครงงาน จับมือกันโดยทีม ครูอาจารย์ วิศวกร และนักบริหารงาน มีนิสิต ป.โท ข่วยแนะนำกับอาจารย์ช่วยแนะนำ

อัพเดทความรู้หุ่นยนต์ Automation กันแล้ว

>>ท่านนึงศึกษา ระบบ Robot Programming ลอง ทำ simulation Robot กับ Conveyor แล้ว ลอง transfer มาจำลองด้วยการทำงานด้วยหุ่นยนต์จิ๋ว และสายพาน

>>ท่านนึงศึกษา ระบบ Vision Image Processing Python และ LabVIEW ศึกษาการตรวจสอบชิ้นงานจริง เอาไอเดียมาจากงานอุตสาหกรรม

>>ท่านนึงศึกษา IoT Dashboard ศึกษาระบบอัตโนมัติและอุปกรณ์ต่าง

>>ท่านนึงศึกษา Mobile Robot, Embedded System. ทำหุ่นยนต์ตัวเล็กตัวใหญ่

>> เมื่อต้อง set ขอบเขตและทำงานร่วมกันเพื่อจำลองการทำงานหุ่นยนต์ลำเลียงของผ่านสายภาพแรกไปวางในอีกสายพาน ควบคุมลำดับการทำงาน และเชื่อมการทำงานกับหุ่นยนต์ เพื่อจัดเรียงสินค้าลงกล่อง ตามด้วยระบบตรวจสอบชิ้นงานด้วยกล้องและภาพ และส่งสินค้าเข้า agv ไปยังโกดัง ข้อมูลต่างๆ เชื่อมผ่าน plc hmi iot dashboard

เรียนแล้วทำโครงการจริงให้เกิดผลลัพธ์จริง

บัณฑิตพันธ์ใหม่ ไม่เอาโครงงานแบบเดิมๆ

ไม่เอาแค่ต้นแบบในมหาวิทยาลัย

เรียนแล้วเอางานจริงมาทำ เกิดผลลัพธ์จริง

เข้าใจหลักการถูกต้องจริง ไม่ใช่แค่เลียนแบบ

เป็นนักพัฒนา คือ สร้างระบบใหม่ที่มีจุดเด่น

ตอบโจทย์ที่ท้าทายใหม่ๆ ตอบรับเทคโนโลยีใหม่

สร้างคน สร้างชาติ สร้างผลิตภัณฑ์และบริการของไทย

สร้างเครือข่าย แลกเปลี่ยนความรู้ สร้างนวัตกรรม

เรียนแบบเดิมนับจำนวนคน จำนวน ชม.

แบบใหม่นับผลลัพธ์ รอบนี้ขอซัก 10-20 โครงการ

ใครมีผลงานรับใบประกาศนียบัตรกัน

ถ้าคนพัฒนาแล้วเท่ากับประเทศพัฒนาทวีคูณ

เรียนแล้วทำโครงการ เรียนแล้วเอางานจริงมาทำ เกิดผลลัพธ์จริง เข้าใจหลักการถูกต้องจริงป็นนักพัฒนา คือ สร้างระบบใหม่ที่มีจุดเด่น ตอบโจทย์ที่ท้าทายใหม่ๆ ตอบรับเทคโนโลยีใหม่ สร้างคน สร้างชาติ สร้างผลิตภัณฑ์และบริการของไทย

สร้างเครือข่าย แลกเปลี่ยนความรู้ สร้างนวัตกรรม เรียนแบบเดิมนับจำนวนคน จำนวน ชม. แบบใหม่นับผลลัพธ์ ใครมีผลงานรับใบประกาศนียบัตรกัน ถ้าคนพัฒนาแล้วเท่ากับประเทศพัฒนาทวีคูณ

ทดลอง หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติจำลองกัน

ส่งออกระบบหุ่นยนต์ไปต่างประเทศกัน..

มาดูโครงงานวิศวกรรมระบบอัตโนมัติ

ขอบคุณผู้บริหารทางโรงงานและวิศวกร

ทางบริษัทมาเรียนโครงการ Non-Degree

หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่ออุตสาหกรรม

จากเดิมที่มัความเชี่ยวชาญด้านเครื่องจักร

เป็นผู้นำด้านการออกแบบเครื่องจักรให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์และอื่นๆ กว่า 20 ปี

มาเรียนเกี่ยวกับหุ่นยนต์สมัยใหม่เพื่อตอบโจทย์ความท้าทายของโลกยุคใหม่

การออกแบบและจำลองด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การใช้เซนเซอร์และประมวลผลภาพ

ระบบควบคุมและสมองกลผังตัว

การใช้อุปกรณ์ระบบอัตโนมัติเพื่อเชื่อต่อระบบเครือข่ายไร้สาย

ตอนนี้มีต่างชาติมาจ้างให้ทำระบบหุ่นยนต์ส่งออกแล้ว เชื่อว่าจะสามารถส่งออกระบบหุ่นยนต์ได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นะครับ

ตอนนี้ออกแบบระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ใกล้จะลงหุ่นยนต์จริงแล้ว

พัฒนาคนไทยเพื่อแข่งขันในเวทีระดับโลกต่อไป

คนไทยไม่แพ้ ไม่ถอย ต่อไป

รายวิชา หุ่นยนต์อุตสาหกรรมและการประยุกต์ในกระบวนการผลิต

ชื่อวิชาภาษาไทย หุ่นยนต์อุตสาหกรรมและการประยุกต์ในกระบวนการผลิต
ชื่อวิชาภาษาอังกฤษ Industrial Robot and Applications in Manufacturing Processes
รหัสวิชา 03607351 3(2-3-6)

Industrial Robot Application and Manufacturing Process เป็นวิชาที่เรียนการเขียนโปรแกรม Robot Studio ในการจำลองการทำงานของหุ่นยนต์ (ABB Robot) และวางแผนการสร้างระบบออโตเมชั่น ศึกษาการทำงานของหุ่นยนต์ เช่น Delta Robot, Cobot, AMR และ line Automation การใช้ PLC HMI และ IoT พื้นฐาน

วัตถุประสงค์ในการเปิดรายวิชา

การใช้งานหุ่นยนต์อุตสาหกรรมจำเป็นต้องมีพื้นฐานเกี่ยวกับส่วนประกอบทางฮาร์ดแวร์และทักษะการโปรแกรมหุ่นยนต์ด้วยแป้นการสอนตำแหน่ง รวมทั้งความสามารถในการจำลองการทำงานของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมด้วยโปรแกรมประยุกต์ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานความเข้าใจในการศึกษาทางจลนศาสตร์และพลศาสตร์ของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมต่อไป

คำอธิบายรายวิชา (Course Description)

ภาพรวมของหุ่นยนต์อุตสาหกรรม กลไกของแขนกลในอุตสาหกรรม อุปกรณ์ขับและอุปกรณ์ตรวจรู้ ระบบและองค์ประกอบการควบคุม การสื่อสารในระบบหุ่นยนต์อุตสาหกรรม การปฏิบัติการและการโปรแกรมหุ่นยนต์อุตสาหกรรมด้วยแป้นการสอนตำแหน่ง การสร้างแบบจำลองงานและการจำลองสถานการณ์ การออกแบบและการจำลองระบบหุ่นยนต์อุตสาหกรรมสำหรับการประยุกต์ในกระบวนการผลิต

Overview of industrial robots. Mechanism of manipulators in industries. Actuators and sensors. Control system and components. Communication in industrial robot systems. Industrial robot operations and programming with teach pendant. Task modeling and simulation. Design and simulation of industrial robot systems for applications in manufacturing processes.

รายวิชา กลจักรวิทัศน์และการประยุกต์ใช้ในระบบอัตโนมัติ

ชื่อวิชาภาษาไทย กลจักรวิทัศน์และการประยุกต์ใช้ในระบบอัตโนมัติ
ชื่อวิชาภาษาอังกฤษ Machine Vision and Applications in Automation System
รหัสวิชา 03607331 3(3-0-6)

เป็นวิชาที่เรียนการเขียนโปรแกรม Python การประมวลผลภาพด้วยเทคนิคต่างๆ การเริ่มประยุกต์ใช้ AI สำหรับประมวลผลภาพ ตัวอย่างการใช้ระบบ Machine Vision ในการเชื่อมต่อกับ Delta Robot ของ Omron

วัตถุประสงค์ในการเปิดรายวิชา

เป็นวิชาขั้นสูงของวิทยาการหุ่นยนต์ ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีและเครื่องมือที่จำเป็นในการพัฒนาระบบจักรกลวิทัศน์และการประยุกต์ใช้งานกับระบบอัตโนมัติ โดยเน้นส่วนของการประมวลผลภาพดิจิทัล การตรวจหาลักษณะเฉพาะ การรับภาพด้วยกล้อง การรู้จำและติดตามวัตถุ

คำอธิบายรายวิชา (Course Description)

หลักมูลภาพดิจิทัล การแปลงค่าความเข้มและการกรองเชิงพื้นที่ การประมวลผลภาพสี การตรวจจับขอบและมุมในภาพ การตรวจหาลักษณะเฉพาะ การแบ่งส่วนภาพ การใช้งานไลบรารีคอมพิวเตอร์วิทัศน์ การเกิดภาพและแบบจำลองกล้อง การรับภาพด้วยกล้องตัวเดียว การสอบเทียบกล้อง การถ่ายภาพสเตอริโอ การรู้จำและติดตามวัตถุ หุ่นยนต์วิทัศน์

Fundamental of digital image. Intensity transformation and spatial filtering. Color image processing. Edge and corner detection. Feature extraction. Image segmentation. Using of computer vision library. Image formation and camera model. Imaging with one camera. Camera calibration. Stereo imaging. Object recognition and tracking. Robot vision.

โครงงานหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่ออุตสาหกรรม รายวิชานี้เป็นการนำโจทย์ที่ทำงานอยู่ หรือโจทย์จากภาคอุตสาหกรรม หรือโจทย์ที่สนใจ สอดคล้องกับการพัฒนาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่ออุตสาหกรรม สร้างต้นแบบ พัฒนาโปรแกรม คิด วิเคราะห์ แก้ไขปัญหา ศึกษาจากงานจริง เพื่อสร้างผลงาน สิ่งประดิษฐ์ หรือนวัตกรรม โปรแกรม แนวคิด หรืออื่นๆ ที่ตอบโจทย์การพัฒนาทางด้านนี้

รายวิชา โครงงานวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ II รหัสวิชา 03607399

รายวิชา โครงงานวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ III รหัสวิชา 03607499

รายวิชาที่เกี่ยวข้อง

ชื่อวิชาภาษาไทย วิศวกรรมการควบคุมสำหรับวิทยาการหุ่นยนต์ เป็นวิชาที่เรียนการเขียนโปรแกรม LabVIEW การพัฒนาระบบสมองกลฝังตัว การใช้ระบบเรียลไทม์ การใช้ระบบ การพัฒนาตัวควบคุมแบบเชิงความถี่และเชิงเวลา ควบคุมระบบและหุ่นยนต์อย่างมีเสถียรภาพ การควบคุมและการใช้งาน AC Motor Servo Controller และ Robot Controller

โครงการอบรมที่ผ่านมา ม.เกษตร ศรีราชา

หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่ออุตสาหกรรม รุ่นที่ 1 ปี 2565

โครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ Non degree เพื่อสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรม EEC (Robotics Innovation) ปี 2019

โครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ Non degree Artificial Intelligent Robot ม.เกษตรศาสตร์ ศรีราชา ปี 2020

SI Warrior, Advanced Data Science for Intelligent Business ปี 2021

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติพงษ์ เยาวาจา หัวหน้ากลุ่มวิจัยวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติขั้นสูง และผู้รับผิดชอบหลักสูตรหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (นานาชาติ)​ ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา

Create Account



Log In Your Account