ไทยวิจัยไทยทำ : ต้นแบบเครื่องวัดการทรงตัวสำหรับผู้สูงอายุ

ไทยวิจัยไทยทำ : ต้นแบบเครื่องวัดการทรงตัวสำหรับผู้สูงอายุ

ไทยวิจัยไทยทำ : ต้นแบบเครื่องวัดการทรงตัวสำหรับผู้สูงอายุ

โครงการวิจัย: ต้นแบบเครื่องวัดการทรงตัวสำหรับผู้สูงอายุ
A prototype of postural measured machine for elderly group

สาขาวิจัยและพัฒนา (research and development)

จากการศึกษารายงาน งานวิจัยที่ผ่านมา พบว่า ประชากรในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ สืบเนื่องมาจากการพัฒนาระบบสาธารณสุขและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มีความก้าวหน้า ส่งผลให้ประชากรมีสุขภาพอนามัยที่ดี มีอายุยืนยาว อัตราการเสียชีวิตลดต่ำลง หากพิจารณาจำนวนประชากรภายในประเทศไทยปี พ.ศ. 2560 พบว่า ประเทศไทยมีประชากรรวมทั้งสิ้น 66.06 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นประชากรสูงอายุจำนวน 11.31 ล้านคน ปี พ.ศ. 2561 พบว่า ประเทศไทยมีประชากรรวมทั้งสิ้น 66.23 ล้านคน เป็นประชากรสูงอายุจำนวน 11.77 ล้านคน (สถาบันวิจัยประชากรและสังคม (มหาวิทยาลัยมหิดล), 2560, 2561) จากข้อมูลดังกล่าว ในปัจจุบันประเทศไทยมีแนวโน้มประชากรที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.26 ในทางกลับกันประชากรสูงอายุกลับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นั่นคือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.04 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2560 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังที่กล่าวมาข้างต้น เป็นผลสืบเนื่องมาจากอัตราการเกิดที่ลดลงอีกทั้งในทางกลับกับอายุเฉลี่ยของคนไทยกลับยืนยาวขึ้นทำให้โครงสร้างประชากรมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว สภาวการณ์ดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รวมถึงส่งผลต่อค่าใช้จ่ายทั้งของรัฐและค่าใช้จ่ายภายในครอบครัวเกี่ยวกับเรื่องสวัสดิการและสุขอนามัยจะเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย

https://fb.watch/6ck4ugTj-_/

ทีมงานได้เขียนโปรแกรมและยื่นลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์

จากที่กล่าวมาข้างต้น ประชากรสูงอายุมีภาวะเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยหรือมีปัญหาสุขภาพเพิ่มมากขึ้น เนื่องจาก ร่างกายจะเสื่อมสภาพลงไปตามอายุที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของผู้สูงอายุ เช่น ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท ระบบหายใจ ระบบต่อมไร้ท่อ ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก เป็นต้น (รัชดาพร, 2548) ผู้สูงอายุจึงมีโอกาสเกิดภาวะเจ็บป่วยได้ง่ายกว่าวัยหนุ่มสาว อีกทั้งยังใช้เวลาในการฟื้นฟูร่างกายที่นานกว่าด้วย อีกสาเหตุที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้สูงอายุ คือ การล้ม (Fall) ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตและไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในผู้สูงอายุ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจาก (1) สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น พื้นลื่น แสงสว่างไม่เพียงพอ เป็นต้น และ (2) ภาวการณ์ทรงตัว (Balance) เนื่องจากการเสื่อมของร่างกาย เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง ประสาทส่วนกลาง เป็นต้น (Gehlsem & Whaley, 1990) ดังนั้น จากปัญหาการทรงตัวที่ส่งผลต่อการล้มของผู้สูงอายุนั้น สามารถฟื้นฟูได้ด้วยวิธีการกายภาพบำบัด (Physical therapy) หรือการฝึกการทรงตัว (Judgw, 2003) โดยการควบคุมร่างกายให้สมดุลระหว่างหยุดนิ่ง (Static balance)

ดังนั้น การพัฒนาเครื่องทดสอบประสิทธิภาพการทรงตัวให้มีความเหมาะสมกับผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านการทรงตัวจากการเสื่อมของร่างกายจึงมีความจำเป็น อีกทั้ง ยังสอดรับกับกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New engine of growth) ทางด้านอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical hub) ในส่วนการผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อวินิจฉัยและติดตามผล (Remote health monitoring device) (สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม, 2560)

เทคนิคการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพ (Quality Function Deployment : QFD) เป็นเทคนิคที่ใช้ในการวางแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้ามากที่สุด โดยทำการเปลี่ยนความต้องการของลูกค้ามาเป็นผลิตภัณฑ์อย่างเป็นระบบและขั้นตอน ซึ่งจะอาศัยเทคนิคทางวิศวกรรมที่ช่วยในการจัดการกับความต้องการของลูกค้า เพื่อนำความต้องการนั้นมาระบุวิธีในผลิต รวมถึงการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ตรงตามความต้องการของลูกค้ามากที่สุด

งานวิจัย บริการวิชาการ โดย ผศ.ดร.ประภาพรรณ และ ดร.พงศกร #RAAS#KU#ศรีราชา นำอุปกรณ์เครื่องทดสอบการทรงตัวไปติดตั่งเพื่อทดลองการทำงานกับผู้ป่วยจริง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติพงษ์ เยาวาจา หัวหน้ากลุ่มวิจัยวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติขั้นสูง และผู้รับผิดชอบหลักสูตรหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (นานาชาติ)​ ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา

Create Account



Log In Your Account