โครงงานออกแบบเครื่องจักรอัจฉริยะสำหรับคัดแยกกุ้ง

โครงงานออกแบบเครื่องจักรอัจฉริยะสำหรับคัดแยกกุ้ง

ผู้พัฒนา บริษัท ฟรินน์ ออโตเมชั่น จำกัด โดยคุณเธียร จันทร์โท และทีมงาน

ทีมที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติพงษ์ เยาวาจา
หัวหน้ากลุ่มวิจัยวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติขั้นสูง
และผู้รับผิดชอบหลักสูตรหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (นานาชาติ)​
คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา

  1. ความเป็นมา
    ปัจจุบันโรงงานเกี่ยวกับกุ้งในการคัดกุ้งขาย หรือแปรรูปสินค้าจากกุ้งนั้นยังคงใช้คนในการทำงานอยู่มากซึ่งจะต้องใช้แรงงานจำนวนมาก และมีค่าใช้จ่ายสูงรวมถึงคนจะต้องทำงานแบบซ้ำๆ

ซึ่งจากโรงงานของลูกค้า พบว่าก็ยังใช้คนอยู่มากโดยการใช้เบอร์ในการฉีกกุ้ง ซึ่งอาจจะทำได้ช้าและไม่มีประสิทธิภาพ สนใจที่จะพัฒนาเครื่องจักรใหม่ซึ่งมีความทันสมัย โดยทำงานร่วมกับภาพจากเซ็นเซอร์เพื่อนำมาประมวลผลในการตรวจจับกุ้ง กุ้งที่ลำเลียงมาจากสายพานในโรงงาน เพื่อนำกุ้งนั้นมาครับแยกด้วยเครื่องจักรแทนการใช้มนุษย์ ซึ่งสามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้จำนวนมาก

  1. เป้าหมาย
    ต้องการพัฒนาระบบจับภาพกุ้ง โดยระบุตำแหน่งกุ้งและใช้โรบอทในการจับกุ้งไปวางในเครื่องถอดหัว
    สามารถตรวจตำแหน่งจับกุ้ง โดยใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์
  2. ความรู้จากการอบรมที่ใช้ในการพัฒนางาน
    ศึกษาอุปกรณ์ ศึกษาการใช้เซนเซอร์ กล้องบันทึกภาพเพื่อจัดเก็บข้อมูล โดยใช้กล้อง Machine Vision (Raspberry Pi)
    ศึกษาระบบประมวลผล Jetson Nano Developer Kit 2GB.
    ศึกษาและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อประมวลผลและ Training ข้อมูล เช่น
  3. โปรแกรมพื้นฐาน
    Anaconda สำหรับ Train ระบบปัญญาประดิษฐ์
    OpenCV และภาษา Python สำหรับประมวลผลภาพ
  4. ประยุกต์ใช้โปรแกรมอัจฉริยะ
    พัฒนาระบบจับภาพกุ้ง เพื่อระบุตำแหน่งกุ้ง ใช้โปรแกรม Anaconda Tensor Flow, YOLO, อื่นๆ เพื่อสร้างระบบระบบปัญญาประดิษฐ์ ใน PC และนำโปรแกรมและ Dataset ไปใช้ร่วมกับ OpenCV และภาษา Python สำหรับประมวลผลภาพ และระบุตำแหน่งกุ้ง ทดลองบน Jetson Nano Developer Kit 2GB.

ผลสำเร็จของงานประโยชน์ที่ได้รับ
หาเครื่องมือและโปรแกรมที่เหมาะสมในการ โดยพัฒนาโปรแกรมและศึกษาระบบประมวลผล Jetson Nano Developer Kit 2GB.

การออกแบบต้นแบบเครื่องจักรนี้ก็จะมีการลำเลียงกุ้งมา จากนั้นก็จะใช้ตัวคัดแยกกุ้งผ่านจานคัดแยกตัวนึง หลังจากนั้นก็จะต้องใช้กล้องในการตรวจสอบกุ้ง เพื่อที่จะนำมาดึงหัวกุ้งออกจากตัวมัน โดยจะใช้ Robot แบบง่ายๆที่สร้างขึ้นมา ในการคัดแยก
โดยใช้กล้องเข้ามาจับกุ้ง โดยการตรวจสอบตำแหน่งของกุ้ง บนระนาบ ตัวที่จะต้องทราบตำแหน่งและ ทิศทางหรือมุมการเอียงของกุ้งและนำมาวางก่อนที่จะดึงออก

การเก็บข้อมูลจากภาพการถ่ายภาพกุ้ง

การใช้โปรแกรมและเก็บข้อมูลมาใช้โปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ใหม่สามารถใช้ในการตรวจจับกุ้งได้

การตรวจสอบกุ้งในทิศทางต่างๆ โดยสามารถแยกแยะทั้งตัวกุ้ง การคัดแยกตัวกุ้ง หัวกุ้ง จากกันได้อย่างแม่นยำ

  1. ผลลัพท์ที่คาดว่าจะได้รับ
  • สร้างเครื่องจักรใหม่เพื่อลดการใช้พนักงานลดลง ประมาณการการประหยัดค่าใช้จ่ายได้ 200,000 บาทต่อปีต่อคน
  • สามารถนำไปใช้ต่อยอดในการผลิตเครื่องจักรที่ทันสมัย
  • สามารถปรับปรุงการทำงาน การประหยัดค่าใช้จ่ายพนักงาน การลดความผิดพลาดในการทำงาน และการต่อยอดโครงการใหม่จากความรู้ ประมาณการผลกำไรได้ 1,000,000 บาทต่อปี และสามารถต่อยอดเพิ่มได้อีกในอนาคตและขยายผลได้ในขนาดอุตสาหกรรมที่ใหญ่ขึ้น
  • โดยผู้พัฒนาคาดว่าสามารถลดพนักงานได้ 900 คน ค่าเดือนคนละ 200,000 บาท/คน/ปี 180 ล้านบาทต่อปี

ทีมที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติพงษ์ เยาวาจา
หัวหน้ากลุ่มวิจัยวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติขั้นสูง
และผู้รับผิดชอบหลักสูตรหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (นานาชาติ)​
คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา

Related Posts

Create Account



Log In Your Account