Robot Camp 2023 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Robot Camp 2023 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.กิตติพงษ์ เยาวาจา 
หัวหน้ากลุ่มวิจัยวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติขั้นสูง (RAAS)

ยินดีต้อนรับทีมอาจารย์จากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี เข้ามาพูดคุยและปรึกษาการออกแบบและพัฒนาด้านวิศวกรรมหุ่นยนต์ และเยี่ยมชมคณะและหลักสูตรหุ่นยนต์ เพื่อให้จัดเตรียมกิจกรรมที่เหมาะสมและโครงการอบรมให้นักเรียนในโรงเรียนกว่า 40 คนที่สนใจศึกษาเรียนรู้และเคยแข่งขันหุ่นยนต์ต่างๆ ในการเตรียมความรู้และความพร้อมในการแข่งขันกิจกรรมหุ่นยนต์ทั้งระดับประเทศและในระดับนานาชาติในปีนี้ โดยมีหลายกิจกรรมแข่งขันที่ลงแข่งขัน อาทิ makeX robotics competition 3-4 รายการ makeX starter, makeX explorer, makeX challenge, makeX premiere และเตรียมความรู้นักเรียนในการศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยชั้นนำ โดยมีหลายประเด็นที่จะได้ไปแนะนำให้น้องๆ ที่โรงเรียนต่อไปเช่น
-การควบคุมป้อนกลับของมอเตอร์ ระบบเซอร์โวดิจิทัล และการคำนวณตำแหน่งของการเคลื่อนที่
-การคำนวณและการควบคุมการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์เคลื่อนที่ แบบ Differntial Drive แบบสองล้อ และการคำนวณเคลื่อนที่ omni-directional ด้วย mecanum wheel เพื่อการเคลื่อนไหวรอบทิศทาง
-การออกแบบระบบจับยึดชิ้นงาน ได้แก่ โครงสร้างการจับยึด และการสร้างแรงดูด
-การคำนวณระบบส่งกำลัง เช่น ระบบเกียร์ สายพานไทม์มิ่ง คานสไลด์ การยกขากรรไกร การยกลีดสกรู

Robot School Camp โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ตั้งแต่ชั้นประถมถึงมัธยมปลาย ป.2-ม.6 เรียนรู้หลักการออกแบบหุ่นยนต์

1. แนะนำพื้นฐาน Mechanical Engineering วัสดุ กลไก การเขียนแบบ การประกอบชิ้นงาน การสร้างต้นแบบชิ้นงาน ตัวอย่างงาน CAD Solidwork ตัวอย่างต่างๆ การแสดงภาพเคลื่อนไหว 3 มิติ เช่น Simscape Multibody เพื่อแสดงกลไก การแสดงกลไกเฟืองทดกำลัง การขับเคลื่อนจากมอเตอร์ไฟฟ้า การแปลงการเคลื่อนที่เชิงมุมเป็นเชิงเส้น ตัวอย่างรถและล้อขับเคลื่อนสองล้อ การทรงตัวของหุ่นยนต์แบบคน Humanoid Robot ในปัจจุบัน เช่น Tesla Bot

2. Electrical Engineering การใช้สัญญาณไฟฟ้า ตัวอย่าง matlab simulink ตัวอย่างเซนเซอร์ และวงจรไฟฟ้าสัญญาณ Analog และ Digital การเชื่อมต่อเข้สคอมพิวเตอร์ด้วยวิธีต่างๆ การใช้ block diagram เพื่ออธิบายพฤติกรรมระบบ การใช้ Tinker CAD ดูสัญญาณไฟฟ้าจากเซนเซอร์ และขับเคลื่อนมอเตอร์

3. Computer Engineering การเขียนโปรแกรม ฝังตัว Embedded System การใช้ Tinker CAD เขียนโปรแกรม Arduino ทั้งแบบภาษา C หรือ block

4. Industrial Engineering ตัวอย่างโปรแกรมหุ่นยนต์ในภาคอุตสาหกรรม ตัวอย่าง Simulation Program

– Workshop เรียนรู้การใช้ Tinker CAD วงจรไฟฟ้าและโปรแกรม Arduino (งานเดี่ยว)

– เชื่อมต่อสัญญาณไฟฟ้าเข้า Arduino และรับสัญญาณ Analog และ Digital (โครงงานกลุ่ม)

– รับสัญญาณไฟฟ้าและควบคุมใบพัดทางกลเพื่อรักษาการทรงตัวของคานกระดก โดยใช้อุปกรณ์ Arduino ใช้ระบบควบคุมแบบป้อนกลับ (โครงงานกลุ่ม)

เตรียมอุปกรณ์อบรมนักเรียน

Robot School Camp 1

Robot School Camp 2

Robot School competition

เนื่องจากทางโรงเรียนสาธิตเกษตร อมตะนคร ติดต่อเข้ามาค่ะว่าอยากจะได้คณาจารย์จากทางสาขา RASE เข้ามาเป็นวิทยากรบรรยายแนวทฤษฎีและปฏิบัติด้านกลไกการประกอบหุ่นยนต์ ด้านต่างๆที่เกี่ยวข้อง ในเชิงลึก ให้กับเด็กระดับประถม มัธยมต้น-ปลาย ที่กำลังจะเตรียมแข่งขัน ในช่วงวันที่ 20-22 มีนาคม ค่ะ โดยเด็กจะเป็นคนที่เคยมีประสบการณ์ในการแข่งขันมาแล้ว กับหน้าใหม่ค่ะ

ผู้ปกครองก็แนะนำมาด้วยค่ะ จะแข่งขันหุ่นยนต์ค่ะ แข่งทุกปี ปกติทางโรงเรียนจะอบรมให้แต่ว่า เขาเห็นว่าเรามีหลักสูตรโรบอท เลยอยากให้มาช่วยสอนค่ะ

ในช่วงวันที่ 20-22 ก็จะเป็นการให้คณะเราเข้าไปเาริมทฤษฎีการลงมือปฏิบัติ แล้วหลังจากทางคณะเราอบรมให้ความรู้เสร็จแล้ว ทางทีมผู้จัดการแข่งขัน จะเข้ามาบรีฟกฏกติกาให้เด็กนักเรียนค่ะ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติพงษ์ เยาวาจา หัวหน้ากลุ่มวิจัยวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติขั้นสูง
และผู้รับผิดชอบหลักสูตรหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (นานาชาติ)​ ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา

ผลงานนักเรียน

https://kusmp.ac.th/news-all/pr-news/1285-makex-thailand-national-championship-2022-makex-international-invitation-tournament-2022.html

Starter

https://drive.google.com/file/d/1Wb8-Fw3GT-hXSce4qO_HOA8atUsiE8_n/view?usp=drivesdk

Explorer

https://drive.google.com/file/d/1WZ46ITz38JMMFFK0w_7RkS8fNlmmcIWg/view?usp=drivesdk

Challenge

https://drive.google.com/file/d/1WYKMdjfOUnehF3_jL9AaAIhRPjhQ103-/view?usp=drivesdk

-การควบคุมล้อเคลื่อนที่
1 ไดรฟ์ที่แตกต่าง:
2 การเคลื่อนไหวรอบทิศทาง

-การสร้างที่จับ
1 โครงสร้างการจับยึด
2 โครงสร้างการดูด

-การสร้างการยก
1 สายพานไทม์มิ่ง + คานสไลด์
2 สายพานไทม์มิ่ง + คานสไลด์
3 โซ่+คานสไลด์
4 การยกขากรรไกร
5 การยกลีดสกรู

เช่น ล้อเพลา การเคลื่อนที่ การคำนวนการเคลื่อนที่ ทฤษฎีต่างๆ การต่อวงจรไฟฟ้า การบัดกรี เป็นต้นค่ะ

โครงการนวัตกรน้อย รายชื่อนักเรียน

จัดอุปกรณ์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.กิตติพงษ์ เยาวาจา 
หัวหน้ากลุ่มวิจัยวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติขั้นสูง (RAAS)

Related Posts

Create Account



Log In Your Account